ชนิดและประเภทของเสาเข็ม
เสาเข็มที่นิยมใช้สร้างบ้าน จะมี 2 ประเภท ได้แก่
เสาเข็มตอก ซึ่งใช้เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงที่ผลิตจากโรงงาน แต่ละท่อนมีความยาวตั้งแต่ 1-28 ม. มีหลายหน้าตัด เช่น รูปตัวที (T) รูปตัวไอ (I) สี่เหลียม หกเหลี่ยม เป็นต้น เสาเข็มสั้นที่ยาว 1-6 เมตรมักจะตอกลงดินด้วยแรงคนขย่ม ส่วนเสาเข็มยาวจะใช้ปั้นจั่นในการตอก
เสาเข็มเจาะ ซึ่งจะใช้เครื่องมือขุดเจาะดินเป็นหลุมตามขนาดหน้าตัดเสาเข็ม โดยขุดให้ลึกถึงชั้นดินแข็งจากนั้นจึงใส่เหล็กเสริมและเทคอนกรีตลงไป
ประเภทของเสาเข็ม
เสาเข็มไม้ เป็นเสาเข็มที่หาได้ง่าย มีน้ำหนักเบา ราคาถูก สามารถที่จะขนส่งได้สะดวก รับน้ำหนักได้น้อย จึงจำเป็นต้องตอกเสาเข็มเป็นกลุ่มๆ ซึ่งจะส่งผลให้มีฐานรากนั้นขนาดใหญ่ เมื่อเลือกใช้เสาเข็มประเภทนี้เราควรทำการตอกให้ต่ำกว่าระดับน้าใต้ดิน ทั้งนี้เพื่อป้องกันการผุกร่อนจากปลวก และ เห็ดรา ปัจจุบันนิยมใช้เสาเข็มไม้ที่ทำจากไม้สน และ ไม้ยูคาลิปตัส
(2) เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือเสาเข็ม คสล เป็นเสาเข็มที่ทำการหล่อ ณ หน้างาน เช่น เสาเข็มเจาะ เสาเข็มชนิดนี้ เป็นเสาเข็มที่มุ่งเน้นให้เกิดผลกระทบต่ออาคารข้างเคียงที่น้อยเนื่องจากการสั่นสะเทือนที่น้อยนั่นเอง จึงสามารถทำการนำลงไปในดินได้ดีกว่าเสาเข็มชนิดตอก และ ยังสามารถควบคุมตำแหน่งได้ดีกว่าเสาเข็มตอกอีกด้วย แต่ ก็จะมีราคาที่สูงกว่าในกรณีรับน้าหนักเท่ากัน เป็นต้น อีกประเภทหนึ่งก็คือเข็ม คสล ที่หล่อมาจากโรงงานซึ่งมักจะทำเป็นท่อนสั้นๆ เพื่อการขนส่งที่สะดวก เราต้องทำการออกแบบเหล็กเสริมตามยาวให้เพียงพอเพื่อรับโมเมนต์ดัด จากการเคลื่อนย้าย และ การตอก ปัจจุบันเราจะนิยมใช้เสาเข็มประเภทนี้สำหรับงานที่มีความจำเป็นจริงๆ เช่น งานต่อเติม เป็นต้น เรามักได้ยินบ่อยๆ ถึงเสาเข็มคอนกรีตแรงเหวี่ยง หรือ ที่เรียกกันทั่วไปว่าเสาเข็มสปัน เป็นเสาเข็ม คสล โดยใช้คอนกรีตชนิดพิเศษที่ผลิตโดยใช้กรรมวิธีการปั่นคอนกรีตในแบบหล่อซึ่งหมุนด้วยความเร็วสูง ทำให้เนื้อคอนกรีตมีความหนาแน่นสูงกว่าคอนกรีตที่หล่อโดยวิธีและขั้นตอนตามปกติ จึงมีความแข็งแกร่งสูง รับน้ำหนักได้มาก
(3) เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง เป็นเสาเข็มที่อาศัยเทคนิคการดึงลวดรับแรงดึงแล้วค่อยทำการเทคอนกรีตลงไปในแบบ เมื่อคอนกรีตแข็งจนได้กำลังจึงทำการตัดลวดรับแรงดึง ทำให้เกิดแรงอัดในเสาเข็ม ด้วยวิธีการนี้เองที่จะช่วยลดปัญหาการแตกร้าวที่เกิดขึ้นในตัวของเสาเข็มได้ ซึ่งบางครั้งเราก็ทำการประยุกต์ใช้เทคนิคการสปัน หรือ คอนกรีตแรงเหวี่ยงเหมือนที่ทำในโครงสร้างเสาเข็ม คสล สำหรับเสาเข็มคอนกรีตแรงอัดแรงได้เช่นกัน โดยเราจะเรียกเสาเข็มชนิดนี้ว่า เสาเข็มคอนกรีตแรงเหวี่ยงอัดแรง
(4) เสาเข็มเหล็ก เป็นเสาเข็มที่ทาจากเหล็กทั้งท่อน มีความสามารถในการรับน้าหนักได้สูงกว่าเสาเข็ม คสล และ ไม้ แต่ก็จะมีราคาที่ค่อนข้างแพง เราจะนิยมใช้เสาเข็มประเภทนี้กับงานโครงสร้างชั่วคราวที่ต้องรับน้าหนักมาก แต่ ก็ต้องทำการรื้อถอนออกในภายหลัง
(5) เสาเข็มประกอบ เป็นเสาเข็มที่ประกอบด้วยวัสดุสองชนิดในต้นเดียวกัน จุดสำคัญของเสาเข็มชนิดนี้ คือ รอยต่อต้องมีความแข็งแรง และ สามารถถ่ายน้ำหนักจากท่อนบนสู่ท่อนล่างได้เป็นอย่างดี